contact-button

ติดต่อเรา

บริการตรวจรักษาการนอนหลับ

บริการตรวจการนอนหลับที่บ้าน โดยศูนย์ชีวานิทราเวช

Highly Recommend

Home Sleep Test

ตรวจการนอนหลับที่บ้าน



บริการตรวจการนอนหลับที่บ้าน หรือ Home Sleep Test Type 2 เป็นการตรวจวัดความผิดปกติขณะนอนหลับ เหมาะสำหรับท่านที่มีปัญหาการนอนกรน หรือ หยุดหายใจขณะหลับ หรือ ขากระตุกขณะหลับ หรือ อาการกัดฟันขณะหลับ หรือ ความผิดปกติจากการหลับอื่นๆ

การตรวจการนอนนี้จะมีการบันทึกสัญญาณคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) สัญญาณคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อตา (EOG) สัญญาณคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อคาง (CHIN EMG) สัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) สัญญาณคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขา (Leg EMG) สัญญาณการหายใจ (Airflow) สัญญาณการขยับของหน้าอกและท้อง สัญญาณการกรน (Snore) ค่าออกซิเจนในเลือด (SPO2) อัตราการเต้นของหัวใจ และ ท่าทางการนอน

1แบบประเมิน PSQI
    2ตรวจการนอนหลับแบบละเอียดวัด 11 สัญญาณการนอนหลับ ที่บ้านของท่าน
      3อ่านผลตรวจการนอนหลับโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ
        4ได้รับรายงาน Sleep Study Report
          หมายเหตุ
          1. ราคาที่แสดงรวมค่าเดินทางของเจ้าหน้าที่สำหรับพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
          2. พื้นที่นอกเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คิดค่าเดินทางและที่พักเพิ่มเติมตามจริง
          3. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเงื่อนไขและข้อกำหนด โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
          ห้องตรวจการนอนหลับ ศูนย์ชีวานิทราเวช 1อุปกรณ์ตรวจการนอนหลับ ศูนย์ชีวานิทราเวช 2การติดอุปกรณ์ตรวจการนอนหลับ ศูนย์ชีวานิทราเวช 3
          การทดสอบสัญญาณตรวจการนอนหลับ ศูนย์ชีวานิทราเวช 4ส่งคนไข้เข้าตรวจการนอนหลับ ศูนย์ชีวานิทราเวช 5การใช้ CPAP บริการตรวจการนอนหลับ ศูนย์ชีวานิทราเวช 6

          บริการตรวจการนอนหลับที่โรงพยาบาล โดยศูนย์ชีวานิทราเวช

          Highly Recommend

          Hospital Sleep Test

          ตรวจการนอนหลับที่ศูนย์ตรวจการนอนหลับ



          บริการตรวจการนอนหลับที่โรงพยาบาล หรือ Hospital Sleep Test เป็นการตรวจวัดความผิดปกติขณะนอนหลับ เป็นการตรวจการนอนหลับแบบมาตรฐานหรือที่เรียกว่า Gold Standard สำหรับความผิดปกติจากโรคจากการหลับ หรือ Sleep Disorder การตรวจนี้จะวัดสัญญาณต่างๆ จากร่างกายเพื่อหาความผิดปกติ ประกอบด้วยการวัดสัญญาณไฟฟ้าสมอง สัญญาณกล้ามเนื้อ สัญญาณไฟฟ้าหัวใจ สัญญาณการหายใจ สัญญาณกัดฟัน ท่าทางการนอนหลับ ออกซิเจนในเลือด หรือรายการอื่นๆ ตามที่แพทย์สั่ง

          ใครควรเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ที่โรงพยาบาล

          หากท่านกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นขณะหลับ อาทิเช่น นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ รู้สึกนอนไม่อิ่ม ตื่นระหว่างคืนบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ เข้าห้องน้ำบ่อยระหว่างคืน มีความง่วงมากผิดปกติระหว่างวัน มีการหลับในบ่อยขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ขับขี่ยานพาหนะแล้วหลับใน แขนขากระตุก กัดฟัน มึความรู้สึกหายใจไม่ออกระหว่างคืนคล้ายผีอำบ่อยครั้ง หายใจไม่สะดวกรู้สึกหายใจติดขัดขณะนอนหลับ จนต้องลุกขึ้นมานั่งเป็นพักๆ เมื่อตื่นนอนตอนเช้ามีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะบ่อยครั้งเมื่อตื่นนอน หรือความผิดปกติอื่นๆระหว่างคืน ท่านอาจกำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ ควรพิจารณาเข้าพบแพทย์หรือตรวจการนอนหลับ อาการเหล่านี้เกิดได้ในทุกช่วงอายุไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยทำงาน หรือ ผู้สูงอายุ หากท่านหรือคนใกล้ตัวท่านกำลังประสบปัญหาเหล่านี้ควรเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

          การตรวจที่โรงพยาบาลยังสามารถทำได้ในผู้ป่วยทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน เด็กเล็ก นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือสามารถติดอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้มากกว่าการตรวจที่บ้าน
          1แบบประเมิน PSQI
            2พบแพทย์เพื่อประเมินอาการก่อนตรวจการนอน และวางแผนการตรวจ
              3ตรวจการนอนหลับ ณ โรงพยาบาลชลลดา เป็นเวลา 1 คืน (พร้อมบริการอาหารเช้า)
                4อ่านผลตรวจการนอนหลับโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ
                  5พบแพทย์หลังตรวจและรับรายงาน Sleep Study Report
                    บริการจิตบำบัดโดยนักจิตวิทยา

                    Highly Recommend

                    Cognitive Behavior Therapy (CBT)

                    ราคา 1,000 บาท / 30 นาที



                    การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม หรือ Cognitive Behavior Therapy กำกับดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชและนักจิตวิทยามืออาชีพ บำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม โดยนักจิตวิทยาจะใช้กระบวนการเชิงจิตวิทยาในการรับฟังและพูดคุย เพื่อให้ผู้ใช้บริการกระหนักและเข้าใจในตนเองมากขึ้น นำไปสู่การปรับตัว หรือ ช่วยให้ผู้รับบริการสามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ความสัมพันธ์ ความเครียด การทำงาน และครอบครัว

                    ใครควรรับบริการ Congitive Behavior Therapy

                    ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ภาวะนอนหลับยาก หรือใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับหลังจากขึ้นเตียง ภาวะวิตกกังวลกลัวการเข้านอน นอกจากปัญหาทางด้านการนอนหลับแล้ว การทำ CBT ยังมีประโยชน์สำหรับ ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า , Bipolar Disorder, ผู้ที่มีความเครียดสูง , ผู้ที่มีภาวะวิตกกังวล, ผู้ที่ต้องการบำบัดการติดแอลกอฮอร์ หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ ตามคำแนะนำของแพทย์

                    ผู้เข้ารับบริการจะได้รับการประเมินคัดกรองสุขภาพจิตและปัญหาทางจิตเวชเบื้องต้นโดยใช้ AI เป็นเวลา 10-15 นาที และพูดคุยกับนักจิตวิทยาเพื่อวางแผนการบำบัด ในการบำบัดแบบ CBT จะใช้เวลาต่อรอบประมาณ 0.5-1 ชั่วโมง เดือนละ 1-2 ครั้ง ซึ่งบางครั้งอาจต้องทำร่วมกับการใช้ยา การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) หรือ กระบวนการรักษาอื่นๆ
                    1แบบประเมินปัญหาทางจิตโดยใช้ AI
                      2รับคำปรึกษาเชิงจิตวิทยา
                        3การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT)
                          4ทำกิจกรรมอื่นๆ ตามมอบหมาย
                            หมายเหตุ
                            1. ราคาที่แสดงสำหรับการรับคำปรึกษาและการบำบัดออนไลน์ โดย นักจิตวิทยา
                            บริการบำบัดการนอนหลับ โดยนักบำบัดการนอนหลับ

                            Highly Recommend

                            Sleep Therapy

                            เริ่มต้น 2,900 บาท



                            บริการบำบัดการนอนหลับ หรือ Sleep Therapy เป็นบริการเพื่อฟื้นฟูคุณภาพการนอนหลับให้คุณสามารถกลับมานอนหลับได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง โดยใช้ศาสตร์แพทย์ทางเลือกประกอบด้วยการใช้กลิ่นบำบัด การใช้โยคะบำบัด การปรับพฤติกรรม การปรับปรุงสุขอนามัยการนอน การใช้อุณหภูมิ การปรับอาหาร และการเพิ่มความเข้าใจในหลักการทำงานของร่างกายและสมองอันเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ซึ่งค่าใช้จ่ายจะเป็นไปตามประเภทการบริการที่ผู้เข้ารับบริการเลือก

                            ใครควรเข้ารับการบำบัดการนอน (Sleep Therapy)

                            หากคุณกำลังประสบปัญหาการ นอนไม่หลับ เป็นบางวันหรือเป็นแบบเรื้อรังก็ตาม ซึ่งอาจเกิดจากการทำงานอย่างหักโหม ความเครียด วิตกกังวล หรือคุณอาจมีภาวะตื่นระหว่างคืนบ่อยครั้ง ฝันร้าย หรือ มีภาวะนอนมากแต่รู้สึกว่ายังไม่สดชื่น นอนอย่างไรก็รู้สึกไม่อิ่มเพียงพอ หากอาการเหล่านี้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียนของคุณ คุณควรเข้ารับการบำบัดการนอนหลับ โดยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มคุณภาพการนอนของคุณโดยเร่งด่วน ก่อนที่ปัญหาเล็กจะนำไปสู่โรคที่เป็นปัญหาทางสุขภาพในระยะยาว

                            เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดการนอนจะประเมินผู้เข้ารับบริการและเสนอการบำบัดที่เหมาะสม
                            1แบบประเมิน PSQI
                              2ปรับปรุงสุขอนามัยการนอนหลับ
                                3โยคะบำบัด
                                  4สุคนธบําบัด (กลิ่นบำบัด)
                                    5ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการนอนหลับ
                                      6ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายและสมอง
                                        หมายเหตุ
                                        1. ค่าใช้จ่ายในการรับบริการขึ้นอยู่กับประเภทการบริการ
                                        2. บริการบางประเภทสามารถให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์

                                        ประเมินความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับ