contact-button

ติดต่อเรา

วิธีการใช้งานเครื่อง CPAP ResMed AirStart10

How to use CPAP ResMed AirStart10 by ณพสิทธิ์ 24/10/24


CPAP ResMed AirStart 10

สารบัญ

บทความอื่นที่เกี่ยวข้องกัน



เครื่อง CPAP หรือ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก คืออะไร


ในบทความนี้ เราจะพูดถึงเครื่อง CPAP ยี่ห้อ ResMed ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่อง CPAP ชั้นนำของโลกจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเครื่อง CPAP ที่นำมาแนะนำในบทความนี้คือ ResMed AirStart 10 ซึ่งเป็นเครื่อง APAP หรือ Auto CPAP รุ่น Economic ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานง่าย ราคาประหยัด และคุณภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.resmed.com

สำหรับเครื่อง CPAP ResMed AirStart 10 ที่จะพูดถึงในบทความนี้ มีรูปร่างภายนอกคล้ายคลึงกับเครื่อง ResMed AirSense10 AutoSet ซึ่งเป็นเครื่องยอดนิยมของแบรนด์ ResMed อีกรุ่นหนึ่ง แต่จะแตกต่างกันในแง่ฟังก์ชันการใช้งาน และฟีเจอร์ต่างๆ ซึ่งจะได้อธิบายต่อไปในบทความนี้

สำหรับ Continuous Positive Airway Pressure หรือ CPAP หรือ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก คือ เครื่องอัดแรงดันอากาศผ่านทางจมูกหรือปากขณะหายใจเข้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้นช่วยให้ผู้ใช้สามารถหายใจและรับอากาศได้อย่างเพียงพอโดยการหายใจบนแรงดันอากาศของเครื่อง

เครื่อง CPAP นั้นใช้สำหรับรักษาผู้ที่นอนกรน หรือผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ระดับปานกลางหรือรุนแรง การใช้เครื่อง CPAP เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยไม่ต้องผ่าตัด

เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือ CPAP ResMed AirStart 10

เครื่อง CPAP มีพารามิเตอร์อะไรบ้าง และฟังก์ชั่นพิเศษของเครื่อง ResMed

1. Ramp Time

ระยะเวลาหน่วงจากเวลาเริ่มใช้จนถึงช่วงเวลาที่หลับ ในช่วงนี้เครื่อง CPAP จะค่อยๆ ปรับแรงดันลมจาก Initial Pressure ไปจนถึงช่วง Min Pressure ที่ใช้ระหว่างหลับ

2. Initial Pressure

ค่าแรงดันเริ่มต้นเมื่อเปิดเครื่อง CPAP

3. Min - Max Pressure

ช่วงแรงดันลมที่ใช้ในการรักษาผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับสำหรับเครื่อง CPAP ชนิด Auto เป็นค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดโดยเป็นแรงดันลมที่ตั้งค่าไว้สำหรับช่วงนอนหลับ เครื่อง CPAP โดยทั่วไปมักจะมีค่าแรงดันลมอยู่ในช่วง 4 - 20 cmH2O หรือ เซนติเมตรน้ำ

4. EPR Level (Expiratory Pressure Relief)

คือการตั้งค่าการลดค่าแรงดันลมระหว่างการหายใจออก ซึ่งมีส่วนช่วยให้การใช้เครื่อง CPAP รู้สึกว่าแรงดันขณะหายใจออกลดลง โดยจะมีค่าที่สามารถปรับได้ OFF ระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 ยกตัวอย่างเช่น หากเราปรับ EPR = 2 ขณะที่แรงดันการหายใจของเราคือ 10 cmH2O เมื่อมีการหายใจออก แรงดันจะได้เท่ากับ 8 cmH2O นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้มี EPR ตลอดคืน หรือว่าเฉพาะช่วงที่กำลังเพิ่มแรงดันก่อนเราหลับ (Ramp)


ฟังก์ชั่นพิเศษ และคำสั่งพิเศษต่างๆ ของ ResMed AirStart 10

การตั้งค่าพิเศษหลายๆ ให้เริ่มต้นด้วยการเข้าสู่การตั้งค่า Clinical Menu โดยการกดปุ่ม Dial และ Home พร้อมกับนานประมาณ 3 วินาที จากนั้นจะเห็นแถบคำสั่งพิเศษที่เราสามารถเข้าไปเพื่อตั้งค่าต่างๆ

1. Mode

เครื่อง ResMed AirStart 10 รองรับโหมดการทำงานหลักสองโหมด ประกอบด้วยโหมด APAP และ CPAP โดยโหมด APAP เป็นโหมดการปรับแรงดันอัตโนมัติซึ่งจะสามารถตั้งค่า Min-Max Pressure ได้ ขณะที่โหมด CPAP เป็นโหมดแรงดันคงที่จะตั้งค่า Presure ได้เพียงค่าเดียว

2. Humidifier

ในหลายประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นมักจะมีอากาศที่แห้ง ทำให้การหายใจโดยไม่มีการปรับความชื้นให้เหมาะสม ลำบากและอาจทำให้เกิดปัญหาระบบการหายใจตามมาได้ ดังนั้นการปรับอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญ ความชื้นที่ปรับได้ของเครื่อง ResMed AirStart 10 มีระดับตั้งแต่ Level 0 - 8 การตั้งค่าโดยทั่วไปจะแนะนำอยู่ที่ Level 4 หากผู้ใช้งานรู้สึกว่าอากาศแห้งเกินไป อาจจะปรับระดับความชื้นเพิ่มให้เหมาะสม ข้อควรระวังคือ หากเมื่อใช้ระบบทำความชื้นและพบว่ามีหยดน้ำค้างในท่อ นั่นอาจจะเป็นข้อบ่งชี้ว่าอากาศที่หายใจนั้นอาจมีความชื้นมากเกินไป ควรจะลดระดับ Humidifier Level ลง

3. Essentials

ตัวเลือกสำหรับการแสดงผล มีสองตัวเลือกคือ แบบปกติ (On) และแบบ Plus ซึ่งจะเห็นข้อมูลการใช้งานในแต่ละคืนละเอียดมากกว่า คำแนะนำคือ ให้เลือกแบบ Plus



วิธีการใช้งานเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก CPAP ResMed AirStart 10

ปุ่มเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือ CPAP ResMed AirStart 10ปุ่มเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือ CPAP ResMed AirStart 10 ด้านหลัง

1. เสียบปลั๊กไฟจาก Adapter เข้ากับไฟบ้านและอีกขั้นหนึ่งเข้าที่ด้านหลังเครื่อง CPAP ResMed AirStart 10

2. เปิดฝา Humidifier Water Tub หรือ กระปุกใส่น้ำที่มากับเครื่อง CPAP และเติมน้ำเข้าไปให้ถึงขีดที่กำหนด ไม่ให้มากไปหรือน้อยไป เมื่อปิดกระปุกแล้วให้เสียบกระปุกกลับไปที่เครื่อง CPAP ระวังอย่าให้น้ำหกเข้าไปในเครื่อง CPAP ข้อควรระวังคือ เมื่อใช้เสร็จทุกครั้งให้นำน้ำออกมาเททิ้งและเปลี่ยนน้ำสะอาดใหม่ทุกครั้งที่มีการใช้งาน พยายามอย่างเติมน้ำทิ้งไว้ เพราะอาจจะเกิดเชื้อราหรือสิ่งสกปรกตกลงไปได้

3. ต่อท่อแรงดันอากาศ (ท่อลม) หรือ Tubing ด้านหนึ่งเข้ากับเครื่อง CPAP ตรงขั้วต่อ Air Outlet หรือส่วนท่อที่มีลมเป่าออกมา

4. ต่อท่อแรงดันอากาศอีกด้านหนึ่งเข้ากับหน้ากาก

5. ใส่หน้ากากและสายรัดเข้ากับจมูกให้เรียบร้อยโดยไม่ควรให้มีอากาศรั่วแต่ไม่ให้แน่นจนเกินไป หน้ากากมีจุดที่เป็นรูระบายลมห้ามปิดเด็ดขาด เป็นส่วนระบายอากาศเวลาหายใจออกสำหรับขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจุดนี้หากใช้แรงดันลมสูงอาจจะมีเสียง 'พี้' ซึ่งเป็นปกติ

6. Start/Stop button หนึ่งครั้งเครื่องจะเปิดและทำงาน ไฟจะดับเองเมื่อรอสักครู่

7. เมื่อตื่นนอน หรือต้องการเข้าห้องน้ำ ให้กดปุ่ม Start/Stop button เพื่อปิดการทำงาน หรือ หากเปิดโหมด SmartStart สามารถที่จะถอดหน้ากาก และไปเข้าห้องน้ำได้เลย

8. เมื่อตื่นนอนแล้วให้ กดปุ่ม Start/Stop button เพื่อหยุดการทำงาน จากนั้นดึงปลั๊กออกจากไฟบ้าน



วิธีการ Download ข้อมูลจากเครื่อง CPAP ResMed AirStart 10

การ Download ข้อมูลการใช้งานจากเครื่อง CPAP ResMed ในรุ่น AirStart 10 นั้นสามารถทำได้ด้วยการ Download ข้อมูลผ่าน SDCard ซึ่งเสียบอยู่ภายในตัวเครื่อง

1.การดึงข้อมูลโดยใช้ SDCard

การดึงข้อมูลการใช้งาน CPAP จาก SDCard ของเครื่อง CPAP ยี่ห้อ ResMed นั้นต้องใช้งานโดยโปรแกรมเฉพาะซึ่งจะมีเฉพาะผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการเท่านั้น โดยกระบวนการมีดังต่อไปนี้

1.1 การดึงข้อมูลการใช้งาน CPAP ResMed AirStart 10 โดยใช้ SDCard สามารถทำได้โดยการนำ SDCard ที่เสียบอยู่กับเครื่อง CPAP ออกมาต่อเพื่อ Download ข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์

1.2 เชื่อมต่อ SDCard ผ่าน SDCard Reader (หาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป) เข้ากับคอมพิวเตอร์แล้วให้คัดลอกโฟลเดอร์และไฟล์ดังต่อไปนี้ ประกอบด้วย

1.3 อัพโหลดไฟล์ทั้งหมดนี้ขึ้น Online Drive หรือ Compress เป็น Zip File หรือ วิธีการอื่นๆ เพื่อส่งให้กับผู้แทนจำหน่ายเครื่อง CPAP ResMed ของท่าน (Authorized Dealer) เพื่อดึงแปลงข้อมูลเป็นรายงานการใช้งาน CPAP ในช่วงที่ผ่านมาโดยการส่ง Email หรือ แนบลิ้งข้อมูล หรือ ช่องทางอื่นๆ

1.4 รับไฟล์รายงานการใช้งานจากผู้แทนจำหน่ายเพื่อนำไปใช้ในการติดตามการรักษาต่อไป

SDCard ResMed AirStart 10

วิธีการดูแลเครื่องและอุปกรณ์ ( Cleaning & Maintenance )


1. การทำความสะอาดเครื่อง CPAP

สามารถทำความสะอาดได้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ หรือน้ำยาฉีดทำความสะอาด เช็ดทำความสะอาดภายนอกโดยระมัดระวังไม่ให้มีของเหลวเข้าไปในตัวเครื่องและควรถอดปลั๊กออกทุกครั้งเมื่อทำความสะอาด

สำหรับตัวเครื่อง CPAP ResMed AirStart 10 รวมถึงเครื่องรุ่น หรือยี่ห้อ อื่นๆ ข้อควรระวังคือ ไม่ให้มีของเหลวเข้าไปในตัวเครื่องและแผงวงจรไฟฟ้า เพราะอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรและอุปกรณ์เกิดความเสียหายได้


2. ท่อแรงดันอากาศ (CPAP Tubing)

วิธีทำความสะอาดท่อแรงดันอากาศ

2.1 ถอดท่อออกจากตัวเครื่องและหน้ากาก

2.2 ล้างทำความสะอาดท่อแรงดันอากาศด้วยน้ำยาล้างจานเจือจาง หรือ น้ำยาล้างขวดนมเด็ก และน้ำสะอาดจนไม่มีคราบตกค้างทั้งภายนอกและภายในของท่อแรงดันอากาศ

2.3 เขย่าท่อแรงดันอากาศเพื่อกำจัดละอองน้ำที่ตกค้างภายในท่อจากนั้นนำท่อแรงดันอากาศไปแขวนตากให้แห้งสนิท โดยแนะนำให้ตากในร่มเพื่อยืดอายุการใช้งาน (ห้ามตากแดด)


3. แผ่นกรอง (Filters)

1. บริเวณช่องดูดอากาศเข้าจะมีฝาเปิดสำหรับเปลี่ยน Filter ในการกรองอากาศ ให้หมั่นตรวจเช็คทุก 1 เดือนและเปลี่ยนใหม่ทุก 1-2 เดือน หากระหว่างใช้งานพบว่ามีฝุ่นเกาะเยอะ สามารถนำออกมาสะบัดฝุ่น หรือ ล้างทำความสะอาด และนำกลับไปใส่ที่เดิมได้ โดยให้ด้านของ Filter ที่หันออกด้านนอก ให้หันออกด้านนอกตัวเครื่องตามเดิม


4. หน้ากาก (Mask Headgear)

4.1 ดึงหน้ากากออกจากท่อแรงดันอากาศและแกะสายรัดศรีษะ(Headgear)ออกจากหน้ากาก

4.2 ให้ล้างทำความสะอาดหน้ากากด้วยน้ำยาล้างจานเจือจาง หรือ น้ำยาล้างขวดนมเด็ก และน้ำสะอาด จนไม่มีคราบตกค้างแล้วตากในที่ร่ม (ห้ามตากแดด)

4.3. หรือทำความสะอาดฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาทำความสะอาดหน้ากากโดยเฉพาะโดยฉีดพ่นหน้ากากให้ทั่วและเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้านุ่ม โดยไม่ต้องล้างน้ำออก


5. อุปกรณ์ทำความชื้น (อุปกรณ์เสริม)

5.1 ปิดไฟของเครื่องแล้วรอให้แผ่นนำความร้อนหายร้อน

5.2 ถอดท่อ (Tubing) ออกจากเครื่อง

5.3 นำ Humidifier Water Tub ออกจากเครื่อง CPAP

5.4 เทน้ำทิ้งให้หมด

5.5 แกะชิ้นส่วนของที่ใส่น้ำ (Humidifier Water Tub) ออกเป็นชิ้นๆแล้วนำมาล้างด้วยน้ำยาล้างจานเจือจาง หรือ น้ำยาล้างขวดนมเด็ก และน้ำสะอาดจนไม่มีคราบตกค้าง แล้วตากในที่ร่ม (ห้ามตากแดด)



วิธีการสวมใส่หน้ากาก ResMed AirFit Mask Fitting

หน้ากาก CPAP ของ ResMed นั้นมีหลายรูปแบบซึ่งมีความเหมาะสมกับแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่สามารถแบ่งได้เป็นสามชนิดหลักๆ คือ หน้ากาก Nasal Mask , หน้ากาก Full Face Mask และหน้ากากชนิดอื่นๆ โดยในบทความนี้จะแสดงวิธีการสวมหน้ากากสองชนิดที่การใช้มากที่สุด คือ Nasal Mask และ Full Face Mask ดังต่อไปนี้

การสวมหน้ากากนั้นไม่ควรใส่ให้แน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป โดยใส่ให้สายที่รัดหน้ากากนั้นพอดีเพียงพอ ให้ใช้นิ้วสอดเข้าไปที่สายรัดหน้ากากได้ การใส่หน้ากากที่ไม่หลวมและแน่นเกินไปจะทำให้เวลานอนหลับรู้สึกสบายไม่อึดอัด สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น

วิดีโอแสดงวิธีการสวมใส่ Nasal Mask ResMed AirFit N20

หน้ากาก แบบ Nasal Mask รุ่นนี้จะมีตัวล็อกแม่เหล็ก ช่วยให้การถอดและใส่หน้ากากทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้จะมีการเปิดหน้าผากส่วนหน้า เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคไซนัสซึ่งการใช้หน้ากากที่รัดหน้าผากจะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ ซึ่งสำหรับหน้ากาก CPAP AirFit N20 เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ใส่สบาย

โดยให้เลือกขนาดของหน้ากากให้เหมาะมากับความกว้างปีกจมูก ดังนี้


วิดีโอแสดงวิธีการสวมใส่ Full Face Mask ResMed AirFit F20

หน้ากาก CPAP Full Face Mask ของ ResMed เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถใช้หน้ากากแบบ CPAP Nasal Mask ได้เช่นไม่สามารถควบคุมการอ้าปาก หรือ แผ่วปากระหว่างหลับได้ หน้ากาก CPAP Full Face Mask รุ่นนี้แบบเปิดหน้าผาก เช่นเดียวกับรุ่น AirFit N20 การใช้สายรัดแบบเปิดหน้าผากจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคไซนัสซึ่งการใช้หน้ากากที่รัดหน้าผากจะทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ

หน้ากากแบบ CPAP Full Face Mask มักจะมีลมรั่วได้ง่ายกว่าแบบ CPAP Nasal Mask ดังนั้นอาจจะต้องรัดหน้ากากให้แน่นกระชับมากขึ้นเล็กน้อย



เครื่องทำความชื้น หรือ Humidifier ของ CPAP คืออะไร จำเป็นหรือไม่

เครื่อง CPAP ในปัจจุบัน (2023) หลายๆ ยี่ห้อจะมีการออกแบบให้มีส่วนทำความชื้นที่มีลักษณะคล้ายกระปุกน้ำติดตั้งมาด้วยพร้อมกับตัวเครื่อง ซึ่งเครื่อง ResMed AirStart, Resmed AirSense 10 AutoSet และ AirSense 10 AutoSet for Her มีมาให้พร้อมกัน แบบ Build In โดยผู้ใช้งานไม่ต้องซื้อแยกต่างหาก ซึ่งมักจะทำให้เกิดคำถามมากมายสำหรับผู้ใช้งาน CPAP เป็นครั้งแรกว่าทีไว้เพื่ออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

Humidifier หรือ เครื่องทำความชื้นสำหรับเครื่อง CPAP

เครื่องทำความชื้นสำหรับเครื่อง CPAP ResMed เรียกว่า Water Chamber Tub หรือ Humidifier Water Tub ทำหน้าที่สร้างความชื้นและปรับอุณหภูมิให้อากาศที่วิ่งผ่านจากตัวเครื่อง CPAP ผ่านเข้ามายัง กระปุกน้ำนี้ และส่งออกไปยังท่อลม หรือ Air Tubing เพื่อให้ผู้ใช้เครื่องได้รับอากาศที่มีความชื้นเพิ่มมากขึ้น

เครื่องทำความชื้นรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่

เครื่องทำความชื้นไม่มีผลต่อการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่ สาเหตุ สำคัญที่ต้องมีเครื่องทำความชื้นเข้ามาร่วมกับการใช้งานเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกนั้นเนื่องมาจาก แรงดันลมที่เป่าออกจากเครื่องอัดอากาศมีแรงดันลมที่สูงกว่าการหายใจโดยปกติของคนเรา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับและมีโครงสร้างส่วนทางเดินหายใจ ลำคอ มีน้ำหนักมาก จะต้องการแรงดันลมที่สูงขึ้นเพื่อเปิดทางเดินหายใจ เมื่อมีแรงดันลมที่สูงกว่าปกติไหลผ่านจมูกหรือส่วนทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งคอแห้งได้ หรือในผู้ใช้บางคนอาจจะรู้สึกโพรงจมูกแห้งและแสบโพรงจมูกเมื่อตื่นมาตอนเช้า


แรงดันลมมากแค่ไหน ควรพิจารณาใช้เครื่องทำความชื้น

เมื่อแรงดันลมเฉลี่ยในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับของผู้ใช้งานสูงกว่า 10 cmH2O หรือ กรณีรู้สึกว่ามีอาการปากแห้งคอแห้ง อาจจะพิจารณาที่จะใช้เครื่องทำความชื้นร่วมด้วย


เครื่องทำความชื้นจำเป็นหรือไม่ สำหรับประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น หรือภูมิอากาศที่มีความชื้นสูง

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตรมีอากาศร้อนและความชื้นในอากาศมาก ยกตัวอย่างเช่น

ความชื้นและอุณหภูมิในอากาศมีความสัมพันธ์กันโดย

ดังนั้น Heat Humidifier จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งการใช้งานในพื้นที่ ที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะในฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ เพราะหากมีการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกที่มีแรงดันลมจากเครื่อง CPAP ที่สูงกว่าอากาศการหายใจปกติ ประกอบกับอากาศที่เย็นและแห้ง อาจจะให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกได้ นอกจากนี้จะทำให้ผู้ใช้รู้สึกไม่หายใจลำบากและมีอาการปากแห้งคอแห้ง

ดังนั้นในประเทศไทย สำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับและใช้เครื่อง CPAP สำหรับทำการรักษาการเลือกใช้เครื่องทำความชื้นหรือไม่ ให้ดูที่อาการปากแห้งคอแห้งหรือไม่ และอาการนั้นเกิดจากการอ้าปากแผ่วปากขณะหลับหรือไม่ หากไม่มี ก็อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องทำความชื้นเพราะว่าประเทศไทยอากาศค่อนข้างชื้นมากอยู่แล้วครับ



วิธีการใช้งานเครื่องทำความชื้นของ ResMed AirSense 10 AutoSet / AirSense 10 AutoSet for Her

สำหรับการใช้งานเครื่องทำความชื้นของ ResMed AirSense 10 นั้นประกอบด้วยสองส่วน ส่วนแรกคือการตั้งค่าการใช้ระบบทำความชื้นจาก Software ของเครื่อง CPAP ซึ่งโดยปกติตัวเครื่องจะตั้งค่าเป็น Auto มาให้ และส่วนที่สองคือจัดการตัวอุปกรณ์ โดยการเติมน้ำลงในกระปุกน้ำ ดังนี้

การปรับเปลี่ยน Humidifier เปลี่ยนจาก Auto เป็น Manual

1. เลือก My Options

2. เลือก Climate Ctrl

3. เลือก "Auto" setting to Manual

4. เลือกปรับระดับ Humidity Level ได้โดยการหมุน Dial (มีตั้งแต่ระดับ 1 ถึง 8 โดยค่า default setting = 4)

5. เลือก "Tube Temp" หรืออุณหภูมิท่อได้ กรณีใช้ท่อชนิด ClimateLine/ClimateLineAir สามารถเลือกอุณหภูมิได้ (ตั้งแต่ 15-30⁰C หรือ 60-86⁰F โดยค่า default setting 27.2⁰C หรือ 81⁰F ).

เพิ่มเติม : แนวทางการปรับเรื่องความชื้นให้ระวังอย่าให้อากาศชื้นเกินไปจนเกิดหยดน้ำหรือน้ำในท่อ หากเป็นเช่นนั้นแนะนำให้ลองปรับลดระดับ Humidity


วิธีการใช้กระปุกทำความชื้น


ข้อควรระวังการใช้ Humidifier หรือ อุปกรณ์ทำความชื้น อื่นๆ

ประโยชน์ของเครื่องทำความชื้น

ประมาณ 40% ของผู้ใช้เครื่องอัดอากาศชนิดต่างๆ ประสบปัญหารู้สึกคัดจมูก หรือ รู้สึกปากแห้ง คอแห้ง โดยอาการเหล่านี้ หากเป็นต่อเนื่องและรุนแรงย่อมจะขัดขวางผู้ป่วยให้รู้สึกไม่ต้องการที่จะใช้งานเครื่อง CPAP

การเปิดระบบทำความชื้นจะช่วยให้อากาศที่หายใจเข้าไปมีความชื้น และความอุ่นมากขึ้นลดอาการไม่พึงประสงค์อย่างเช่นการคัดจมูก หรือความรู้สึกปากแห้งคอแห้งได้ และทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้งานเครื่อง CPAP ได้ดี รู้สึกสบายทำให้สามารถใช้งานได้ ต่อเนื่องในระยะยาวได้มากยิ่งขึ้น



คำถามจากทางบ้าน

ถามตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่อง CPAP ResMed AirStart10

1. เครื่อง ResMed AirStart 10 แตกต่างจาก เครื่อง ResMed AirSense 10 AutoSet/ AirSense 10 AutoSet for Her อย่างไร

ตอบ: เครื่อง ResMed AirStart 10 มีความเหมือนและความแตกต่างจาก เครื่อง ResMed AirSense10 Series ในแง่โหมดการทำงานและฟังก์ชั่นการทำงานดังนี้

ความเหมือน


ความแตกต่างที่ เครื่อง ResMed AirStart 10 ไม่มี / ไม่รองรับ

อย่างไรก็ตาม เครื่อง ResMed AirStart 10 ถือว่าเป็นเครื่อง CPAP ที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมและมีความคุ้มค่าสำหรับผู้ใช้งานเป็นอย่างยิ่ง


Home Sleep Test

ปรึกษาปัญหาโรคจากการหลับ ต้องการตรวจการนอนหลับศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริการของเรา

Reference

ประเมินความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับ