contact-button

ติดต่อเรา

วิธีการใช้งานเครื่อง CPAP Apex XT-Auto

How to use CPAP XT-Auto by ณพสิทธิ์ 13/2/23


เครื่อง CPAP Apex XT-Auto

สารบัญ

บทความอื่นที่เกี่ยวข้องกัน



เครื่อง CPAP หรือ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก คืออะไร


Continuous Positive Airway Pressure หรือ CPAP หรือ เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก คือ เครื่องอัดแรงดันอากาศผ่านทางจมูกหรือปากขณะหายใจเข้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างขึ้นช่วยให้ผู้ใช้สามารถหายใจและรับอากาศได้อย่างเพียงพอโดยการหายใจบนแรงดันอากาศของเครื่อง

เครื่อง CPAP นั้นใช้สำหรับรักษาผู้ที่นอนกรน หรือผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ระดับปานกลางหรือรุนแรง การใช้เครื่อง CPAP เป็นวิธีการรักษาที่มีแรกประสิทธิภาพสูงที่แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำเนื่องจากเป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด

เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือ CPAP

เครื่อง CPAP มีพารามิเตอร์อะไรบ้าง

1. Ramp Time

ระยะเวลาหน่วงจากเวลาเริ่มใช้จนถึงช่วงเวลาที่หลับ ในช่วงนี้เครื่อง CPAP จะค่อยๆ ปรับแรงดันลมจาก Initial Pressure ไปจนถึงช่วง Min Pressure ที่ใช้ระหว่างหลับ

2. Initial Pressure

ค่าแรงดันเริ่มต้นเมื่อเปิดเครื่อง CPAP

3. Min - Max Pressure

ช่วงแรงดันลมที่ใช้ในการรักษาผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับสำหรับเครื่อง CPAP ชนิด Auto เป็นค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดโดยเป็นแรงดันลมที่ตั้งค่าไว้สำหรับช่วงนอนหลับ เครื่อง CPAP โดยทั่วไปมักจะมีค่าแรงดันลมอยู่ในช่วง 4 - 20 cmH2O หรือ เซนติเมตรน้ำ



วิธีการใช้งานเครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า CPAP Apex XT-Auto

เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือ CPAP

1. เสียบสายไฟเข้าด้านหลังเครื่องและอีกปลายหนึ่งเสียบเข้ากับไฟบ้าน เมื่อเสียบปลั๊กเรียบร้อยแล้ว หน้าจอจะขึ้นข้อความ STAND BY

2. ต่อท่อแรงดันอากาศ (ท่อลม) ด้านหนึ่งเข้ากับเครื่อง CPAP ตรงขั้วต่อท่อที่มีลมออกมา

3. ต่อท่อแรงดันอากาศอีกด้านหนึ่งเข้ากับหน้ากาก

4. ใส่หน้ากากและสายรัดเข้ากับจมูกให้เรียบร้อยโดยไม่ควรให้มีอากาศรั่วแต่ไม่ให้แน่นจนเกินไป หน้ากากมีจุดที่เป็นรูระบายลมห้ามปิดเด็ดขาด เป็นส่วนระบายอากาศเวลาหายใจออกสำหรับขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจุดนี้หากใช้แรงดันลมสูงอาจจะมีเสียง "พี้" ซึ่งเป็นปกติ

5. กดปุ่มเปิดเครื่อง หน้าจอจะแสดงค่าตามที่ตั้งไว้ (ถ้าตั้งเวลาเพื่อให้แรงดันเริ่มจากเบาๆไปถึงแรงดันตามที่ตั้ง แรงดันจะมาเบาๆก่อน)

6. เมื่อตื่นนอน หรือต้องการเข้าห้องน้ำ ให้ปิดเครื่องโดยกดปุ่มเปิดปิด หน้าจอแสดงสถานะจะแสดงสถานะ STAND BY

7. เมื่อตื่นนอนแแล้วให้ปิดเครื่องแล้วดึงปลั๊กออกจากไฟบ้าน



วิธีการตั้งค่าเครื่อง CPAP Apex XT-Auto

เครื่อง CPAP Apex XT-Auto นั้นจะประกอบด้วย 4 ปุ่ม คือ ปุ่มเปิดปิดเครื่อง ปุ่มเมนู (รูปหนังสือ) ปุ่มลูกศรขึ้น และปุ่มลูกศรลง โดยการตั้งค่าอุปกรณ์นั้นต้องเปิดเครื่อง CPAP ก่อนโดยการเสียบปลั๊กและเริ่มจากการกดปุ่มเมนู หรือ ปุ่มรูปหนังสือเพื่อเปลี่ยนไปยังหน้าเมนูที่ต้องการเปลี่ยน จากนั้นกดสามปุ่มประกอบด้วยปุ่มเมนู ปุ่มลูกศรขึ้น และปุ่มลูกศรลง พร้อมกัน ตัวอักษรที่แสดงผลอยู่บนจอแสดงผลจะกระพริบ ให้กดลูกศรขึ้นหรือลงเพื่อเลือกตั้งให้เป็นค่าที่ต้องการจากนั้นกดปุ่มเมนูอีกครั้งเพื่อยืนยัน



วิธีการ Download ข้อมูลจากเครื่อง CPAP Apex XT-Auto

การนำข้อมูลการใช้งานเครื่อง CPAP เพื่อสร้างรายงานการใช้งานสำหรับเครื่อง CPAP Apex XT-Auto นั้นสามารถทำได้สองวิธีเนื่องมาจากภายในเครื่องนั้นมี Interal Storage อยู่แล้วดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องต่อเครื่อง CPAP เข้ากับอุปกรณ์ หรือ SD Card ตลอดเวลา เมื่อต้องการนำข้อมูลการใช้งานที่เก็บไว้ในเครื่องออกมาสามารถทำได้สองวิธี วิธีที่หนึ่ง Download โดยใช้ SD Card วิธีที่สอง Download โดยใช้สาย Micro USB to USB ต่อกับคอมพิวเตอร์

1. การ Download ข้อมูลโดยใช้ SD CARD

เมื่อเปิดเครื่อง CPAP Apex XT-Auto หน้าจอแสดงผลสว่างและสีส้ม เข้าสู่โหมด Standby ให้เสียบ SD Card เข้าที่ด้านหลังเครื่อง บนหน้าจอแสดงผลจะขึ้นคำว่า COPY รอสักครู่จะขึ้นคำว่า END และหน้าจอแสดงผลจะกลับไปที่โหมด Standby ขณะนี้เครื่องได้ทำการคำลอกข้อมูลในเครื่องลงมาใส่ SD Card เรียบร้อยแล้ว

เมื่อ COPY ข้อมูลจากเครื่อง CPAP Apex XT-Auto จะได้ข้อมูลอยู่ใน SD Card ใน Folder ชื่อ APAPDATA ดังภาพ

APAP DATA Apex XT-Auto SD Card Folder

โดยด้านในจะมีไฟล์ข้อมูลในนามสกุลดัง .APE , .APF ดังภาพด้านล่างนี้ หากผู้ใช้งานไม่มีโปรแกรม Easy Compliance ที่จะใช้ในการอ่านข้อมูลก็สามารถที่จะส่งไฟล์ทั้งสองไฟล์ให้เจ้าหน้าที่เทคนิคเครื่อง CPAP ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่อง CPAP ยี่ห้อ APEX ดำเนินการออกรายงานต่อไป

APAP DATA Apex XT-Auto SD Card Folder .APE .APF

ในการออกรายงานผลการใช้งานเครื่อง CPAP เราสามารถดำเนินการได้โดยใช้โปรแกรม Easy Compliance ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ หนึ่งเปิดโปรแกรม

Easy Compliance Software Apex Cpap

เลือกที่ Download และเลือกไปที่ Extract Data via SDCard File

Easy Compliance Software Apex Cpap

เข้าไปที่ Folder ที่มีไฟล์ข้อมูลจาก SD Card จากนั้นเลือก File นามสกุล .APE จากนั้นกด Open

Select SDCard File CPAP Apex

ข้อมูลการใช้งาน CPAP ที่โหลดจากเครื่อง CPAP Apex XT-Auto จะเข้ามาแสดงผลในโปรแกรม Easy Compliance โดยเราสามารถเลือกไปที่แถบ Total Time หรือ Detail หรือ Long Term เพื่อดูข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ได้

Report CPAP 1Report CPAP 2

2. การ Download ข้อมูลโดยใช้สาย Micro USB ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์

เริ่มต้นโดยการเสียบปลั๊กไฟต่อกับเครื่อง CPAP Apex XT-Auto โดยหน้าจอแสดงผลจะมีสีส้มสว่างขึ้นมา จากนั้นให้ต่อสาย Micro usb เข้ากับที่ด้านหลังเครื่อง CPAP และ ต่อขั้ว USB ปกติเข้ากับคอมพิวเตอร์

ให้เข้าโปรแกรม Easy Compliance จากนั้นเลือก Download และเลือกไปที่ COM Port Auto Connect

extract-data-from-com-port

เมื่อเชื่อมต่อสำเร็จจะขึ้นคำแจ้งเตือนว่า Auto Connect successfully

connect-success

จากนั้นให้ไปที่ Download อีกครั้งและเลือก Extract Data via COM Port

extract-data-from-com-port-2

เมื่อ Download สำเร็จจะขึ้นข้อความแจ้งเตือนดังนี้

download cpap data success

ข้อมูลการใช้งาน CPAP ที่โหลดจากเครื่อง CPAP Apex XT-Auto จะเข้ามาแสดงผลในโปรแกรม Easy Compliance โดยเราสามารถเลือกไปที่แถบ Total Time หรือ Detail หรือ Long Term เพื่อดูข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ได้เช่นเดียวกับการโหลดข้อมูลแบบ SD Card

extract success from cpap
วิดีโอแสดงวิธีการ Download ข้อมูลจากเครื่อง CPAP Apex XT-Auto

หมายเหตุ: หากเชื่อมต่อล้มเหลว ไม่สามารถทำการ Auto Connect ได้ ให้ทดลองเปลี่ยนสาย Micro USB เนื่องจากสาย Micro USB ชนิดนี้ แม้ว่าจะหน้าตาเหมือนกัน หลายครั้งสายที่มีอยู่เป็นสายที่สามารถใช้ในการชาร์ตไฟอุปกรณ์ได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถส่งข้อมูลหรือสื่อสารได้ หรือบางครั้งก็มีการชำรุดทำให้ใช้งานไม่ได้



วิธีการดูแลเครื่องและอุปกรณ์( Cleaning & Maintenance )

เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือ CPAP

การทำความสะอาดเครื่อง CPAP

สำหรับตัวเครื่อง CPAP ห้ามทำความสะอาดเครื่องด้วยน้ำหรือของเหลวอื่นๆโดยเด็ดขาดสามารถใช้ผ้านุ่มๆชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดภายนอกโดยระมัดระวังไม่ให้มีของเหลวเข้าไปในตัวเครื่องและควรถอดปลั๊กออกทุกครั้งเมื่อทำความสะอาด


ท่อแรงดันอากาศ (Tubing)

อายุการใช้งานของท่อแรงดันอากาศ: ประมาณหนึ่งปี ความถี่ในการทำความสะอาด: อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง

วิธีทำความสะอาดท่อแรงดันอากาศ(Tubing)

1. ถอดท่อออกจากตัวเครื่องและหน้ากาก

2. ล้างทำความสะอาดท่อแรงดัสอากาศด้วยน้ำยาล้างจานเจือจาง หรือ น้ำยาล้างขวดนมเด็ก และน้ำสะอาดจนไม่มีคราบตกค้างทั้งภายนอกและภายในของท่อแรงดันอากาศ

3. เขย่าท่อแรงดันอากาศเพื่อกำจัดละอองน้ำที่ตกค้างภายในท่อจากนั้นนำท่อแรงดันอากาศไปแขวนตากให้แห้งสนิท(ห้ามตากแดด)


แผ่นกรอง (Filter)

1. ด้านหลังของตัวเครื่องจะมีแผ่นกรองสามารถทำความสะอาดโดยการเคาะฝุ่นออกและชะล้างฝุ่นด้วยละอองน้ำสะอาด

2. ข้อควรระวัง! โปรดตากแผ่นกรองจนแห้งดีก่อนนำมาใช้งาน แผ่นกรองควรทำความสะอาดทุก 2 สัปดาห์ และเปลี่ยนใหม่ทุก 2-3 เดือน


หน้ากากช่วยหายใจ (Mask Headgear)

1. ดึงหน้ากากออกจากช่วยหายใจและแกะสายรัดศีรษะ (Headgear) ออกจากหน้ากาก

2. ให้ล้างทำความสะอาดหน้ากากช่วยหายใจด้วยน้ำยาล้างจานเจือจางและน้ำสะอาด จนไม่มีคราบตกค้างแล้วตากในที่ร่ม (ห้ามตากแดด)

3. หรือทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหน้ากากโดยเฉพาะโดยฉีดพ่นหน้ากากให้ทั้วและเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้านุ่ม โดยไม่ต้องล้างน้ำออก


อุปกรณ์ทำความชื้น (อุปกรณ์เสริม)

1. ปิดไฟของเครื่องแล้วรอให้แผ่นความร้อนหายร้อน

2. ดึงท่อออกจากที่ใส่น้ำ

3. นำที่ใส่น้ำออกจากเครื่องCPAP

4. เทน้ำทิ้งให้หมด

5. แกะชิ้นส่วนของที่ใส่น้ำ (Chamber) ออกเป็นชิ้นๆแล้วนำมาล้างด้วยน้ำยาล้างจานเจือจางและน้ำสะอาดจนไม่มีคราบตกค้าง แล้วตากในที่ร่ม (ห้ามตากแดด)



วิธีการสวมหน้ากากเครื่อง CPAP หรือ CPAP Mask Fitting

หน้ากาก CPAP นั้นมีหลายรูปแบบซึ่งมีความเหมาะสมกับแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่สามารถแบ่งได้เป็นสามชนิดหลักๆ คือ หน้ากาก Nasal Mask , หน้ากาก Full Face Mask และหน้ากากชนิดอื่นๆ โดยในบทความนี้จะแสดงวิธีการสวมหน้ากากสองชนิดที่คนใช้มากที่สุด คือ Nasal Mask และ Full Face Mask ดังต่อไปนี้

การสวมหน้ากากนั้นไม่ควรใส่ให้แน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป โดยใส่ให้สายที่รัดหน้ากากนั้นพอดีเพียงพอ ให้ใช้นิ้วสอดเข้าไปที่สายรัดหน้ากากได้ การใส่หน้ากากที่ไม่หลวมและแน่นเกินไปจะทำให้เวลานอนหลับรู้สึกสบายไม่อึดอัด สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น

วิดีโอแสดงวิธีการสวมใส่ Nasal Mask

วิดีโอแสดงวิธีการสวมใส่ Full Face Mask
Home Sleep Test

ปรึกษาปัญหาโรคจากการหลับ ต้องการตรวจการนอนหลับศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริการของเรา

Reference

ประเมินความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับ